วิธีวาดภาพสีไม้
ขั้นตอนแรกของการวาดภาพ โครงสร้างเป็นสิ่งที่เราต้องใส่ใจเป็นอันดับแรก คือ ไม่ผิดสัดส่วน อยากให้ใส่ใจกับการร่างภาพให้มากๆ เพราะถ้าร่างภาพออกมาไม่เหมือนหรือผิดเพี้ยนแล้ว ลงสีก็ไม่สวยอยู่ดีครับ
ผมเลือกใช้หุ่นที่มีความต่าง ทางด้านพื้นผิวและรูปทรง เพื่อจะได้ฝึกวาดให้หลากหลายมากขึ้น
ขั้นแรกวางตำแหน่งของหุ่นแต่ละชิ้นก่อน โดยที่ไม่ต้องสนใจในรายละเอียด เราอาจแทนเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยม หรือวงรี ขั้นตอนนี้เราวางตำแหน่งเพื่อจัดหน้ากระดาษของภาพด้วย กะขนาดของวัตถุแต่ละชิ้นให้ใกล้เคียงกัน
วางระยะของหุ่นให้ดี ตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะบอกระยะของวัตถุแต่ละชิ้น
ต่อมาจึงใส่รายละเอียดของวัตถุแต่ละชิ้นจนครบ ถ้าวัตถุชิ้นไหนเอียง ควรตีเส้นแกนแนวนอน และแนวตั้ง เพื่อช่วยให้เป็นหลักในการวาด จะช่วยให้กะองศาการเอียงได้ง่ายขึ้น
เริ่มลงแสงเงา
สีไม้ถ้าระบายทับกันมากเกินไป จะทำให้เป็นไข ลงทับต่อไม่ได้ อาจจะกะไม่ถูกในช่วงแรก รูปต่อไปก็จะดีขึ้น
เริ่มลงสีวัตถุ ตามที่เห็นไปพร้อมๆ กัน จะทำให้การทำงานสามารถมองเห็นภาพรวมได้ง่ายขึ้น
ทิศทางของเส้น อาจจะช่วยบอกอารมณ์ของภาพได้ แต่สำหรับมือใหม่ ให้ใส่ใจเรื่องของมิติของแสงเงาให้มากๆ
เริ่มเก็บรายละเอียดรอบที่สอง เพิ่มมิติและกดดินสอสีให้หนักขึ้น การระบายหลายๆ สีในพื้นที่เดียวกัน ควรระบายให้มีการทับกันไปมาระหว่างสี จะทำให้กลมกลืน
หรี่ตามองแสงเงา เพื่อจะช่วยให้การลงน้ำหนักไม่ผิดเพี้ยน
ภาพแรกเป็นภาพต้นแบบ
ภาพที่สอง หรี่ตาแล้วจะเห็นเป็นแบบนี้
ภาพที่สาม แบ่งขอบเขตของน้ำหนักแล้ว จับคู่ส่วนใดเข้ม ส่วนใดอ่อน
เก็บรายละเอียดรอบสุดท้าย
ข้อสังเกต
หากวัตถุสีต่างกัน วางอยู่ใกล้กัน จะมีการสะท้อนของสีไปยังวัตถุข้างเคียง เช่น มะนาวสีเหลืองอยู่ข้างพริกสีเขียว ก็จะมีสีเขียวเข้าไปแทรกในสีของมะนาวเล็กน้อย
เหล่านี้จะทำให้ภาพที่เราวาด มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การร่างภาพมั่วๆ และใจร้อน ไม่ใส่ใจในโครงสร้าง อยากลงสีเร็วๆ มีแต่เสียกับเสีย การวาดรูปเป็นเรื่องที่ควรค่อยเป็นค่อยไป อาศัยการฝึกฝน ลองผิดลองถูก จนเจอวิธีทำงานที่ตัวเองถนัดที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น