หลังจากชีวิตงานการยุ่งมากมายก็ไม่ค่อยได้มาอัพเด ทอะไรเพิ่มเติม จากนี้ไปน่าจะมีอะไรมาให้อ่านอีกเรื่อยๆนะครับ ผมยังวาดรูปและถ่ายขั้นตอนเก็บไว้เรื่อยๆเพียงแต่ไม่ได้มีเวลามาเขียนขั้น ตอน วันนี้เรามาลองวาดโดยใช้marking สำหรับกั้นสีอีกครั้ง ลองดูอีกทีละกัน
เรามาดูกันก่อนว่าทำไมต้องมีการกั้นสีด้วย??
1.สี น้ำเป็นสีโปร่งแสง หลายๆคนเชื่อว่าต้องวาดให้ดูโปร่งๆบางๆเพื่อคงลักษณะของคุณสมบัติของสีเอา ไว้ การกั้นสีด้วย marking จึงทำให้การวาด กิ่งไม้เล็กๆเสาเล็ก และอื่นๆอีกมากมายทำงานได้ง่ายขึ้น
2.ทำงานได้ง่ายขึ้นเยอะ แต่ก็เสียเวลาตอนทา marking เนี่ยแหละ
ไปดูภาพประกอบกันเลยดีกว่า เยิ่นเย้อจะพาลงงไปใหญ่
ขอ ตัดไปที่หลังจากการร่างภาพเลยนะครับ พอเราร่างเสร็จแล้ว เราก็ใช้ marking ทาลงไปโดยใช้พู่กันจุ่มแชมพู สบู่ หรือซันไลน์ แล้วค่อยจุ่ม markingเลือกกั้นเฉพาะตรงที่เล็กๆนะครับ ไม่ใช่กั้นไปซะทุกที่ จากนั้นก็รอแห้งประมาณ 15 นาที
ต่อ ไปก็เป็นขั้นตอนเดิมๆที่ผมถนัด ไม่รู้เป็นไงถ้าไม่ได้ทำแบบนี้ ผมไปไม่เป็นเลยล่ะ ก็เริ่มกันที่ลงน้ำเปล่าบนกระดาษทั้งแผ่นให้ทั่วซัก 2 รอบ เพื่อให้กระดาษชุ่มน้ำทั่วถึงกัน ลงสีท้องฟ้าและต้นไม้ที่อยู่ระยะหลังก่อนครับ จากนั้นลงสีของวัตถุต่างๆต่อไปเลย มันจะเลอะออกมาข้างนอกก็ช่างมัน จะเห็นว่าเราจะทำงานง่ายขึ้นเมื่อกั้นmarkingแล้ว
รอแห้งซักพักก็จัดการกับต้นไม้และบ้านที่อยู่ข้างหลังด้วยเทคนิคเปียกบนแห้ง ทำยังไงลองย้อนดูที่เทคนิคเก่าๆดูนะครับ
เอ้า ลงไปเรื่อย ยาวไปๆ
เริ่มลามมาที่ต้นมะพร้าวละ เห็นผลชัดเจน ถ้าเราไม่กั้นเอาไว้ เราคงไม่ได้ใบมะพร้าวสีอ่อนๆทีดูเป็นธรรมชาตไว้ในภาพแน่ๆ
ดู กันจะๆกันไปเลยดีกว่า พอเราลงใบด้านหลังเสร็จก็ใช้นิ้วถู markingออก แล้วใช้สีเขียวผสมน้ำจางๆระบายเคลือบเอา ระบายเคลือบคือการระบายอย่างเบาบางให้ทำลายพื้นน้อยที่สุด
กลับมาลามที่พื้นดินบ้าง ส่วนใหญ่คือการตัดทอนทั้งนั้น
เก็บ ส่วนต่างๆไปเรื่อยครับ ที่ผมถนัดวาดจากด้านหลังมาหน้าเพราะสามารถลำดับและกะระยะและน้ำหนักได้ ง่ายกว่าครับ แน่นอนว่ามีคนวาดจากหน้าไปหลังก็มีเยอะแยะไป ของอย่างนี้ต้องลองครับ ถ้ามัวกลัวละก็จะพัฒนาช้ามาก
ใส่น้ำเข้าไป เสน่ห์ของมันคือต้องใสนี่หละ
เสร็จ เรียบร้อยครับผม ไม่ค่อยได้ลงลึกอะไรมาก เพราะขั้นตอนก็คล้ายๆหลายรูปที่ผ่านมา มีอะไรสงสัยถามได้ครับผม วันนี้ไปก่อน ดึกแล้ว เป็นแพนด้าตาดำ+ตัวดำไปแล้ววว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น