วันนี้มาวาดดอกไม้กันบ้างครับ
สิ่งที่มือใหม่หัด วาดควรฝึกและสำคัญมาก คือการควบคุมน้ำหนักมือและทิศทางในการใช้ภู่กัน ไม่ใช่ฝึกเพียงวันสองวันเป็น แต่ใช้เวลามากและอดทน
โดยเฉพาะสีน้ำ พลาดแล้วพลาดเลย ต้องฝึกให้มือนิ่งและแม่นเป็นพิเศษ
ต้นแบบวันนี้ครับ
หลัง จากขึงกระดาษแล้วรอให้แห้งสนิท เริ่มร่างรูปครับ แก้วน้ำต้องตีแกนมากหน่อยนะครับ ไม่งั้นจะเบี้ยวและล้ม ที่สำคัญแกนตั้ง และแกนนอนต้องตรง ถ้าไม่ตรงแก้วใบนี้เบี้ยวแน่นอนครับ วาง ตำแหน่งของกุหลาบแต่ละดอกรวมทั้งใบ คร่าวๆก่อนนะครับ ย้ำว่าคร่าวๆเพราะหลายคนมักเผลอเขียนรายละเอียดข้างในเลย ถ้าชำนาญแล้วทำได้ครับ แต่ถ้าไม่ชำนาญ มันจะเพี้ยนครับ
หลัก ของการวาดรูปให้จับลักษณะให้ได้ ทำความเข้าใจกับแบบ ดูภาพรวมตอนใกล้เสร็จ แล้วแต่งเติมโดยดูจากความเป็นไปได้ จากแบบ จะเห็นว่าตรงช่วงใบดูไม่ออกเลยว่าตรงไหนเป็นตรงไหน ให้เรามองจากที่มาซึ่งก็คือก้าน ใบก็เริ่มต้นที่ตรงนั้น ทับซ้อนกันมากๆก็เลยดูไม่ออก ดอกก็เช่นกันผมไม่ได้วาดทุกกลีบ แต่จับกลีบที่เด่นและสำคัญเอาไว้ ที่เล็กๆน้อยๆบางอันก็ตัดทิ้งไปเลย
ร่างเสร็จแล้วพร้อมลงสี ก่อนลงสีทดลองเขียนบนกระดาษเปล่าก่อนครับ
ผม เริ่มจากลงสีดอกสีแดงก่อนครับ ใครจะลงตรงส่วนอื่นก่อนก็ได้ ตรงนี้ผมใช้เทคนิคเปียกบนเปียก โดยลงสีแดงก่อน แล้วตามด้วยแดงเข้ม และแตะเขียวเหลืองเล็กน้อย เพื่อสร้างความกลมกลืนให้กับภาพ เพราะรอบข้างสีแดงมีสีเขียวอยู่ใกล้ๆ เช่นเดียวกัน เมื่อผมไปทำส่วนของใบสีเขียว ก็เพิ่มสีแดงเล็กน้อยลงไปเหมือนกัน
และอย่าลืมหรี่ตามองแสงเช่นเคย
ภาพแรกคือต้นแบบ
ภาพที่สองหรี่ตาจะเห็นเป็นแบบนี้ (ก็คือมองให้ภาพที่เห็นตรงหน้ามันเบลอนั่นแหละ)จะสามารถมองเห็นโซนของน้ำหนักแต่ละที่ได้ง่ายขึ้น
ภาพที่สาม เมื่อมองเห็นตามนั้นก็ลุยเลยยย ทำให้ติดเป็นนิสัยนะครับช่วยได้มากๆ
ดอกต่อไปครับ
ดอก สีชมพูผมลงน้ำเปล่าไปก่อนแล้วค่อยแตะชมพูลงไปแล้วตามด้วยเขียวอมเหลือง จากนั้นเพิ่มน้ำหนักของชมพูให้เข้มขึ้นโดยเพิ่มเนื้อสีเพื่อสร้างมิติ
เป็นชั้นๆจนกว่าจะพอใจ
ใส่ ใบครับ และก้าน อย่างที่บอกข้างต้นว่ามันไม่ชัดและดูมั่วๆ ให้เราจับลักษณะให้ได้ครับ ใบไหนอยู่ด้านหลังจำเป็นต้องปรับโทนสีให้อ่อนลงเพื่อให้เป็นระยะไกล ทำจนครบดูภาพรวมแล้วค่อยแต่งเติมไปเรื่อยๆ
มา ถึงส่วนของแก้วใส กำหนดส่วนที่จะเว้นแสงไว้ ผสมสีเทาแต่ผมเติมม่วงไปอีกนิดเพื่อให้ภาพดูสดใสมากขึ้น ระบายลงไป จากนั้นทำสีตรงก้าน จะเห็นว่าตรงส่วนที่อยู่ในน้ำ สีจะบางๆและไม่ค่อยชัดเจน
เติมเงา ใบที่วางอยู่ที่พื้น ดูภาพรวมอีกที ถ้าพอใจแล้วเป็นอันเสร็จครับ
จะ เห็นว่าผมเน้นว่า"มองภาพรวม" บ่อยมากๆ เพราะการวาดรูปเราตัดสินไม่ได้จากพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเพียงส่วน เดียว บางคนวาดท้องฟ้าแล้วไม่สวย ไม่ถูกใจ ก็ไปนั่งแก้อยู่แต่ท้องฟ้า เข้าใจครับว่า อดใจไม่ไหวจริงๆ แต่หากเราตัดใจจากตรงนี้ไปได้ แล้วไปทำส่วนอื่นๆจนเสร็จทั้งภาพ ดูภาพรวมอีกที เราอาจจะเห็นว่า ท้องฟ้าที่เราไม่พอใจ อาจเป็นแค่ส่วนประกอบเพียงเล็กน้อยของภาพเท่านั้น อาจมองเห็นทางแก้ทางอื่น หรือหากมันเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจไม่ต้องแก้เลยก็ได้
ส่วนขั้นตอนที่ผมถ่ายมาให้ดู มันค่อนข้างจะข้ามมากๆ ผมวาดเองถ่ายเอง คนเดียว ใครเคยวาดสีน้ำจะรู้ว่ามันต้องใช้จังหวะในการลง บางจังหวะรอไม่ได้ บางส่วนอาจไม่เข้าใจ ยังไงก็อยากให้ลองทำดูก่อนครับ
ปิดท้ายด้วยคำถามที่ถามกันบ่อยๆว่าผสมสียังไง ทำยังไงก็ไม่เหมือน จะตอบว่าประสบการณ์ ล้วนๆครับ
ส่วนอันนี้น่าจะพอช่วยได้ระดับนึงคือ แบ่งสีที่เรามีทั้งหมด อาจจะแบ่งเป็นสีโทนเย็นอยู่ด้านบน(แนวนอน)
สี โทนร้อนอยู่ด้านซ้าย (แนวตั้ง) จับแต่ละสีมาผสมกัน 1 ต่อ 1 ในจานสีก่อนนะครับ แล้วค่อยแต้มลงไปที่กระดาษ เมื่อทำจนครบทุกสีแล้ว เราจะได้ตารางที่แสดงการผสมสีมา 1แผ่น ทีนี้เราก็จะพบว่ามีสีโทนแปลกๆที่เราไม่คิดว่าสีเหล่านี้ผสมกันแล้วมันจะได้ แบบนี้ เกิดขึ้นมากมาย ทีนี้เวลาเราทำงานจริง เกิดติดขัดสีไหนผสมไม่ได้ ลองหันกลับมาดูครับ เป็นแนวทางเท่านั้นนะครับ ใช้งานจริงต้องพลิกแพลงเอา เติมน้ำให้สีอ่อนบ้าง ผสมให้เข้มขึ้นบ้าง ทำบ่อยๆวันนึงเราจะไม่ต้องใช้ ตารางสีอันนี้อีกต่อไปเลย
เขียนให้สนุกสนาน และมีความสุขนะคร้าาาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น